วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6


1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด 
ตอบ  ฉบับแรก 22 ธันวาคม 2547 ฉบับที่ 2 วันที่ 30 มีนาคม 2554


2. ตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน
ตอบ   เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน


3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไรตอบ    ไม่เกินร้อยละ 10


4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู คศ.1 และรับเงินเดือนเท่าไร
ตอบ  การบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนคือ
                           ขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท
                           ขั้นต่ำ 8,700 บาท
                           ขั้นสูง 16,840 บาท
         และเมื่อได้รับครบกำหนด 2 ปี จึงจะได้แต่งตั้งเป็นครู คศ. 1 และได้รับเงินเดือน
                          ขั้นต่ำชั่วคราว 8,130 บาท
                          ขั้นต่ำ 11,930 บาท
                          ขั้นสูง 29,700 บาท๘,๑๓๐



















กิจกรรมที่ 4


ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถาม

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบเหตุผลในการประกาศให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ตอบ “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน

 “เด็ก” หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว

“การศึกษาภาคบังคับ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

 “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบผู้ปกครองที่ไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 6 จะต้อง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน คือ สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
ตอบ
  • อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา และ สืบสานศิลปวัฒนธรรม 
  •  การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
  • การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง
               -  คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
               - ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
  • บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ และ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
  • การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานรัฐมนตรีและ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  • ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
  • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคลผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  •  อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ, พิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
  • ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • คณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. 2546
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง ,ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
  • หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ,กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  • บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
  • บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และ ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
  • ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด
  • หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้ หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือหน่วยงานดังต่อไปนี้ 
                   - การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
                   - การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
                   - การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
  • ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ
  • ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กิจกรรมที่ 2


ให้นักศึกษาอ่าน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
การลดอำนาจผูกขาดและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
การทำให้การเมืองมีความโปร่งใสและยุติธรรม
การทำให้ระบบตรวจสอบ มีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
         มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
          มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน


3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ 
  • รัฐสภา เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
  •  สภาผู้แทนราษฎร เช่น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
  •  สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
  • วุฒิสภา เช่น วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน คุณสมบัติใดบ้างที่สามรถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
  •  สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบเราต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพราะรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบใดก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขต จัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือในการกำกับแนวปฏิบัติของรัฐ ผู้ปกครองและประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นความประสงค์ของนักการเมืองที่จะแก้การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้อง ซึ่งรับไม่ได้ในทางกฎหมาย หากยอมให้คนทำผิดแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด ระบบกฎหมายของประเทศจะถูกท้าทายและพังทลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนบางกลุ่มออกมาประท้วง

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบราชการบ้านเมืองทุกวันนี้ ดำเนินไปในลักษณะที่เป็นงานประจำ และฝากไว้กับระบบข้าราชการเป็นสำคัญ ส่วนงานอำนวยการหรืองานรัฐบาลนั้นก็อยู่ในสภาพที่ชะงักงันเพราะสภาผู้แทนที่ต้องรับผิดชอบกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง และกลุ่มข้าราชการประจำที่มีอำนาจทางการเมืองกลับไม่ต้องรับผิดชอบสภาพปัญหาต่าง ๆและในเวลานี้ความคิดความเข้าใจในหลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตยกำลังเสื่อมคลายและถูกทำลายไปตามปัญหาเฉพาะหน้าและความต้องการเฉพาะกลุ่มอยู่ทุกขณะ ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่ทบทวนยึดมั่นไว้ให้ถูกต้องแล้ว ความเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยก็จะสามารถได้รับชัยชนะยึดครองทั้งระบบรัฐบาล และระบบความคิดไปได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด




วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

นิยามของคำว่า "การสืบสวน"
  • การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด 

นิยามของคำว่า "การสอบสวน"
  • การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ 

นิยามของคำว่า "กฎหมาย"
  • กฎหมาย หมายถึง บรรทัดฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผน ซึ่งผู้มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้น เพื่อบังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้กระทำ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติ 

นิยามของคำว่า "คดีแพ่ง"
  • คือคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน 

นิยามของคำว่า "คดีอาญา"
  • เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน 

นิยามของคำว่า "คำกล่าวโทษ"
  • การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น 
นิยามของคำว่า "ความผิดซึ่งหน้า"
  • การพบเห็นการกำลังกระทำความผิดหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้ว

นิยามของคำว่า "คนต่างด้าว"
  • คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ 

นิยามของคำว่า "นิติบุคคล"
  • ไม่ใช่บุคคลธรรมดามีสถานะเป็นองค์กรห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทสมาคมหรือวัดก็มีสถานะเป็นนิติบุคคล 

นิยามของคำว่า "นิติกรรม"
  • การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ 

นิยามของคำว่า "บรรทัดฐาน"
  • ค่านิยมที่ยึดถือต่อกันมา 

นิยามของคำว่า "บุคคลล้มละลาย"
  • เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกินกว่าหนึ่งล้านแล้วถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย 

นิยามของคำว่า "บัญชีเดินสะพัด"
  • สัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค 

นิยามของคำว่า "อสังหาริมทรัพย์"
  • ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย

นิยามของคำว่า "ชาวไทย"
  • ประชาชนที่รับสัญชาติไทยโดยถูกกฎหมาย 

นิยามของคำว่า "โจทก์"
  • หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน 

นิยามของคำว่า "จำนอง"
  • สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนองผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ 

นิยามของคำว่า "จำนำ"
  • สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ 

นิยามของคำว่า "หมิ่นประมาท"
  • ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง 

นิยามของคำว่า "สินไหมทดแทน"
  • การชดใช้ค่าเสียหาย

ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน(ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.lawamendment.go.th/ [ 9 พฤศจิกายน 2555 ]





My self




Wanrepee Thaikue

18119/70 Tungsong-Trang    Tungsong, NaKhonSiThammarat 80310

Oil_Thaikue@hotmail.com

Education: 

2003-2005 SaTriThongSong School ,Junior High school 
2006-2008 TraimUdomSuksa of the South School, High school 
2009-2013 NaKhonSiThammarat Rajabhat University,English for Education 

Work experience: 

Waitress and receptionist at Ranu Sea Grill Restaurant organized seating , greeted customers, distributed menus. Took customer's orders, served food and beverages, prepared itemized checks and accepted payments. Greeted patrons when they arrived and assisted them in finding the right table. 
Cashier at Lamai Resort and Restaurant. Operated the cash register. Took orders and acted as a liaison between the kitchen and dining room. Handled all the cash and credit card transactions. 

Work Skills: 

Knowledgeable of Microsoft Word, Power Point, Photoshop, Adobe captivate 

Activities: 

Staff in PTT Save Thai Sea camp, English Clinic Club member, Staff in English Camp 

Hobbies: 

Drawing and painting, cooking Thai food, planting tree 

Don't shrink any task because of its arduousness. 

อย่าละทิ้งงานใดๆ เพียงเห็นว่างานนั้น

Brave actions never want trumpet. 

การกระทำอันกล้าหาญ ไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศ